การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI) คือ การตรวจร่างกายโดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง สามารถให้รายละเอียดและความคมชัดเสมือนจริง ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างละเอียดและถูกต้องแม่นยำ
ประโยชน์ของการตรวจMRI
-
- เห็นความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อได้ชัดเจน
- สามารถวินิฉัยได้แม่นยำ ละเอียดและถูกต้อง
- ไม่เกิดรังสีตกค้าง เพราะเป้นการใช้สนามแม่เหล็กความเข้มข้นสูงจึงไม่มีรังสีเหมือนการตรวจดอกซเรย์ได้ทั่วไป
MRI ตรวจอะไรได้บ้าง
- ตรวจระบบประสาท : ใช้ในการตรวจเนื้อเยื่อสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท เช่น ภาวะสมองขาดเลือด โดยเฉพาะในช่วงแรกซึ่งไม่สามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรคเนื้องอกสมอง โรคลมชัก โรคกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เป็นต้น
- ระบบทางเดินอาหารและวัยวะในช่องท้อง : ใช้ในการตรวจตับ ถุงน้ำดี ตับอ่อน ไต และระบบอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น นิ่วในทางเดินน้ำดี เนื้องอกในตับ เนื้องอกมดลูกและรังไข่ มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น
- ระบบกล้ามเนื้อและข้อ : เช่น เส้นเอ็นฉีกขาด ซึ่งไม่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจอื่น เนื้องอกในโพรงกระดูก ซึ่งสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก เป็นต้น
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด : เช่นการตรวจภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ ภาวะเส้นเลือดไตตีบในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยสามารถตรวจเส้นเลือดต่างๆในร่างกายได้โดยไม่ต้องฉีดสารทึบรังสีเหมือนการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำให้มีความปลอดภัยสูง ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆ ทั้งก่อนและหลังการตรวจและสามารถกลับบ้านได้ทันที
ข้อจำกัดของการตรวจ MRI
- ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Cardiac Pacemaker)
- ผู้ที่เคยผ่าตัดภาวะหลอดเลือดในสมองโป่งพอง (Cerebral Aneurysm)
- ผู้ที่เคยผ่าตัดใส่เครื่องช่วยฟัง (Cochlear Implant)
- ผู้ที่มีโลหะในลูกตา (Metallic Foreign Body)
- ผู้ที่มีภาวะกลัวที่แคบ (Claustrophobi
แพทย์ประจำโปรแกรม